วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ระดมความคิดเห็น

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษานวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า“นว” หมายถึง ใหม่“กรรม” หมายถึง การกระทำเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
1.2 ประเภทของนวัตกรรม
1. เทคนิคและวิธีการ เป็นกลวิธีหรือกิจกรรมหรือวิธีสอน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. สิ่งประดิษฐ์ เป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน เป็นต้น
1.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)
2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)
3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)
1.4 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรมการยอมรับนวัตกรรม
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness) เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่
2. ขั้นสนใจ (interest) เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่ หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทำมาแล้ว หรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง
3. ขั้นประเมินผล (evaluation) ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่ จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจำกัดสำหรับเขาเพียงใด และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่
4. ขั้นทดลอง (trial) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption) ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการที่เขายึดถือปฏิบัติโดยถาวรต่อไป ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรการปฏิเสธนวัตกรรม
1. ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้นๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2. ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของนวัตกรรมนั้นๆ ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้นๆ ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้นๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3. ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง
1.5 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาAsynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา
1. แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning)
3.การเรียนแบบร่วมมือกัน (Collabrative Learning) เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียนแบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน
4. การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน (Teaching and Learning in Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนแบบ Asynchronous ซึ่งผู้สอน และผู้เรียนมีบทบาท การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ (Khan H. Badrul. 1997 : 6)
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อท้องถิ่น สื่อกิจกรรม
4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษาประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆ คน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันให้ก่อประโยชน์สูงสุด
2.4 การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ - หน่วยรับข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ - หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น จานบันทึก - หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ 2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือเป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น งานบัญชี งานพิมพ์เอกสาร งานวาดภาพ เป็นต้น 3 ส่วนบุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ - ระดับบริหาร (Administration) - ระดับวิชาการ (Technical) - ระดับปฏิบัติการ (Data Processing)
3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
3.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practica
2. โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial)
3. โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation)
4. เกมทางการศึกษา (Educational Games)
5. โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving)
3.5 ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี
1. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
2. ไม่จำกัดสถานที่เรียน
3. สามารถเรียนจากสื่อประสม
4. การทราบผลการเรียนทันทีข้อจำกัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
3.6 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน
3.7 การใช้และการประเมินผลคอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ ITสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา- คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน- คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน- คอมพิวเตอร์นำเสนอ- เว็บล็อค- การสอนทางโทรศัพท์- ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์
4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อดี
1. การเรียนการสอนที่กว้างขวาง
2. เรียนรู้นอกสถานที่เรียนได้
3. สะดวกในการเรียนการสอนข้อจำกัด
1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. บุคลากรเชี่ยวชาญ
4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษาการเรียนผ่านด้วยระบบดาวเทียมหรือที่เรียกว่าการศึกษาทางไกล
4.5 การประเมินผลการใช้งานประเมินจากการปฏิบัติ แบบทดสอบและแบบสอบถาม เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชล

บทนำ

สื่อมวลชน คือ การถ่ายทอดความรู้ข่าวสารสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่เจาะจงสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ข่าวสารที่ถูกนำเสนอจากสื่อมวลชน จึงเป็นข่าวสารสำหรับผู้รับแต่ละคนที่จะเลือกรับตามโอกาสและความพอใจ ใครพร้อมที่จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือรับสื่อมวลชนอื่นใด ที่ไหน เมื่อใดก็ได้ เป็นการรับข่าวสารตามอัธยาศัย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว หรือมีความตั้งใจ การรับข่าวสารในลักษณะดังกล่าว จึงสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบปกติวิสัย ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องอาศัยระบบการจัดการใดๆ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ย่อมมีอยู่มากมาย และแตกต่างกันไป ทั้งประสบการณ์ในทางที่ดีและไม่ดี ประสบการณ์ใดที่มีคุณค่าก่อให้เกิดผลต่อบุคคลในทางสร้างสรรค์ ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาทั้งสิ้น

-สื่อมวลชน หมายถึง
"สื่อมวลชน" เป็นกระบวนการนำสารหรือการส่งสารไปยังคนจำนวนมากค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการสื่อสารประเภทอื่น ผู้ส่งสารอาจเป็นกลุ่มบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์การหรือสถาบันก็ได้และผู้รับสารจำนวนมากนั้นมักอยู่กระจัดกระจาย ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกัน ด้วยเหตุที่ ปฏิกริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นจากผลของการสื่อสารซึ่งไม่ปรากฏโดยตรงหรือทันทีทันใด แต่มักจะแสดงออกในรูปของความพอใจหรือไม่พอใจ โดยสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้รับถ้าพอใจมักจะปฏิบัติบ่อยหรือการทำซ้ำ ๆ การนำเอาวิธีการของสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่า การสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา และเรียกตัวกลางหรือสื่อซึ่งนำสารไปยังคนจำนวนมากกว่าสื่อมวลชนทางการศึกษา-สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนคือการเผยแพร่ข่าวสารสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ควรลงข้อความข่าวที่มีความถูกต้องไม่ใช่ต้องการขายข่าวเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาถึงความถูกต้องที่ผู้บริโภคข่าวสารจะได้เนื้อหาสาระที่ถูกต้อง

-สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
สื่อมวลชนกับสังคม นับว่ามีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันมาก จนแยกไม่ออกว่าสิ่งใด เป็นความต้องการของสังคม สิ่งใดเป็นความต้องการของสื่อมวลชน แต่คำสองคำนี้จำเป็น ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันนับว่ามีพัฒนาการที่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยียุคสังคมโลกาภิวัตน์ ทั้งความรวดเร็วสูง ปริมาณข้อมูลมหาศาล ไม่จำกัดระยะทาง เวลา ส่วนสังคมเองจำเป็นต้องเรียนรู้สื่อมวลชนในอันที่ จะนำสื่อมวลชน มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงการบริโภคสื่อไปตามทิศทางที่สื่อกำหนด เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้สังคมจะต้องช่วยกันสอดส่องพัฒนาสื่อมวลชนให้มีคุณภาพ เพื่อนำสื่อมวลชนมาพัฒนา สังคมและประเทศ ชาติได้ เนื้อหารายวิชาของสื่อมวลชนกับสังคม ประกอบด้วยความหมายความสำคัญของ สื่อมวลชน สื่อมวลชน เบื้องต้น บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน อิทธิพลของสื่อมวลชน ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน จรรยาบรรณของ สื่อมวลชน การควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ และการรับใช้สังคมของ

-มีความคิดเห็นอย่างไร
กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคมระบบการสื่อสารเสรีทั้งคุณและโทษ คุณประโยชน์ก็คือเป็นการย่อโลกให้แคบลงมาให้ผู้คนฉลาดเฉลียวหูตากว้างขึ้น ช่วยพัฒนาให้สังคมเจริญอย่างรวดเร็วแต่ในทางตรงกันข้าม การสื่อสารอย่างไร้ขอบเขตจำกัดได้รุกล้ำอธิปไตยทางวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ความเป็นตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ หลายประเทศกว่าจะรู้ตัวก็ถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมไปมากแล้ว ปัญหาการสื่อสารมวลชนในสังคมไทย เป็นปัญหาที่เกิดจาดลักษณะการทำงานโดยเฉพาะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นสื่อที่เกิดขึ้น โดยรัฐ และอยู่ในความคงบคุมของรัฐ ทำให้ขาดอิสระในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ การสร้างสรรค์รายการไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร และขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพ

-มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
การจัดเรตติ้งมีมานานแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ที่เราจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ไม่ได้เลียนแบบต่างประเทศ แต่ในสภาพปัจจุบัน พบว่า เพื่อความอยู่รอดของรายการโทรทัศน์ ผู้ผลิตขึ้นจำเป็นที่จะต้องทำให้รายการน่าสนใจเพื่อให้มีผู้ชมรายการมาก ส่งผลให้รายการมีโฆษณาและผู้สนับสนุนมาก นั่นหมายความว่า รายการนั้นจะสามารถอยู่รอดในผังรายการของสถานีโทรทัศน์ได้ รายการเหล่านั้น จึงเน้นความบันเทิงมากกว่าสาระที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะรายการที่มีเนื้อหารุนแรงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ภาษา โดยเฉพาะพฤติกรรมและความรุนแรง ประกอบกับ ผลการสำรวจภาคสนามที่ระบุว่า เด็ก เยาวชนใช้เวลาในการดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ ๓ ชั่วโมง และเพิ่มเป็น ๕ ชั่วโมงในวันเสาร์และอาทิตย์ และรายการโทรทัศน์เหล่านี้เองส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ให้กับผู้ชม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กในช่วงอายุ แรกเกิด ถึง ๑๓ ปี ซึ่งยังมีวิจารณญานน้อย ไม่สามารถแยกแยะบทบาทจริงกับบทบาทสมมุติได้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า เด็ก เยาวชนไทยกำลังเผชิญหน้ากับการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสื่อโทรทัศน์มากขึ้นทุกขณะ โอกาสในการสร้างความฉลาดทางปัญญา จึงถูกทำลายไปพร้อมกับการดูโทรทัศน์ ดังนั้นจึงถึงเวลาที่จะต้องมาจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ให้มีความชัดเจน

-SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
มีทั้งประโยชน์และโทษถ้ามองในแง่ดี ก็ต้องบอกว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความคิดเห็น ได้ส่งข่าวสาร ความเป็นอยู่ในแต่ละครั้งผ่านหน้าจอโทรทัศน์ แต่หากเป็นประเด็นที่ล่อแหลมต่อความสัมพันธ์ของประชาชนในประเทศ หรือความมั่นคง ก็เห็นไม่เหมาะสมเพราะเป็นการทำให้ไฟลามทุ่ง ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะข้อความมันถูกส่งขึ้นหน้าสอ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่วนที่มองในแง่ไม่ดีคือ เมื่อไหร่จะให้ส่งฟรี เพราะทำให้ประชาชนเสียเงินค่าส่ง SMS ไม่ใช่น้อย จะบอกว่าไม่ได้บังคับแต่มันก็มีการเชิญชวนแบบที่ยากปฏิเสธได้ ตามสัญชาตญาณมนุษย์ ที่ส่วนใหญ่ก็อยากมีส่วนรวมในการแสดงความคิดเห็นแสดงออกอยู่แล้ว แต่เม็ดเงินที่ทางสถานี รายการ บริษัทมือถือ ได้รับ มันคิดแล้วได้รายได้มหาศาล

-การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษหรือการเรียนการสอนอย่างไร
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดสื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม ดังนั้นสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะผลิตและนำเสนอความรู้ข่าวสาร ให้มีความน่าสนใจ สามรถทำให้คนตั้งใจรับได้นานที่สุด ความสามรถในการกระตุ้นความสนใจของสื่อสารมวลชนแต่ละประเภทมีระดับที่แตกต่าง

-จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร
ความพยายามที่จะใช้ศักยภาพของสื่อมวลชน ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาให้มากที่สุด ปัจจุบันได้มีการผลิตรายการข่าวสารสำหรับการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ ในสื่อมวลชนทุกประเภท เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือการเรียนการสอน หนังสือและหนังสือพิมพ์สำหรับเด็ก วารสาร นิตยสารเพื่อการศึกษา เปิดโอกาสให้นำรายการข่าวสารจากสื่อมวลชน มาใช้ทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีทั้งรายการข่าวสารสำหรับการเรียนการสอน โดยตรและรายการสำหรับการศึกษาทั่วไปสรุปแนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ เช่น การเพิ่มของประชากร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และผู้สอนที่เชี่ยวชาญ การกระจายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเจริญก้าวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนเอง ทำให้สื่อมวลชน มีบทบาทต่อการศึกษาของประชาชนมากขึ้น ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามปกติวิสัย แต่การใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะให้การยอมรับว่า สื่อมวลชนมีบทบาททางการศึกษาอย่างกว้างขวาง