วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชล

บทนำ

สื่อมวลชน คือ การถ่ายทอดความรู้ข่าวสารสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่เจาะจงสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ข่าวสารที่ถูกนำเสนอจากสื่อมวลชน จึงเป็นข่าวสารสำหรับผู้รับแต่ละคนที่จะเลือกรับตามโอกาสและความพอใจ ใครพร้อมที่จะฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ หรือรับสื่อมวลชนอื่นใด ที่ไหน เมื่อใดก็ได้ เป็นการรับข่าวสารตามอัธยาศัย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว หรือมีความตั้งใจ การรับข่าวสารในลักษณะดังกล่าว จึงสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบปกติวิสัย ซึ่งเป็นการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องอาศัยระบบการจัดการใดๆ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ย่อมมีอยู่มากมาย และแตกต่างกันไป ทั้งประสบการณ์ในทางที่ดีและไม่ดี ประสบการณ์ใดที่มีคุณค่าก่อให้เกิดผลต่อบุคคลในทางสร้างสรรค์ ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาทั้งสิ้น

-สื่อมวลชน หมายถึง
"สื่อมวลชน" เป็นกระบวนการนำสารหรือการส่งสารไปยังคนจำนวนมากค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าการสื่อสารประเภทอื่น ผู้ส่งสารอาจเป็นกลุ่มบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์การหรือสถาบันก็ได้และผู้รับสารจำนวนมากนั้นมักอยู่กระจัดกระจาย ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกัน ด้วยเหตุที่ ปฏิกริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นจากผลของการสื่อสารซึ่งไม่ปรากฏโดยตรงหรือทันทีทันใด แต่มักจะแสดงออกในรูปของความพอใจหรือไม่พอใจ โดยสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้รับถ้าพอใจมักจะปฏิบัติบ่อยหรือการทำซ้ำ ๆ การนำเอาวิธีการของสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่า การสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษา และเรียกตัวกลางหรือสื่อซึ่งนำสารไปยังคนจำนวนมากกว่าสื่อมวลชนทางการศึกษา-สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนคือการเผยแพร่ข่าวสารสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ควรลงข้อความข่าวที่มีความถูกต้องไม่ใช่ต้องการขายข่าวเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาถึงความถูกต้องที่ผู้บริโภคข่าวสารจะได้เนื้อหาสาระที่ถูกต้อง

-สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
สื่อมวลชนกับสังคม นับว่ามีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันมาก จนแยกไม่ออกว่าสิ่งใด เป็นความต้องการของสังคม สิ่งใดเป็นความต้องการของสื่อมวลชน แต่คำสองคำนี้จำเป็น ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันนับว่ามีพัฒนาการที่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยียุคสังคมโลกาภิวัตน์ ทั้งความรวดเร็วสูง ปริมาณข้อมูลมหาศาล ไม่จำกัดระยะทาง เวลา ส่วนสังคมเองจำเป็นต้องเรียนรู้สื่อมวลชนในอันที่ จะนำสื่อมวลชน มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงการบริโภคสื่อไปตามทิศทางที่สื่อกำหนด เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้สังคมจะต้องช่วยกันสอดส่องพัฒนาสื่อมวลชนให้มีคุณภาพ เพื่อนำสื่อมวลชนมาพัฒนา สังคมและประเทศ ชาติได้ เนื้อหารายวิชาของสื่อมวลชนกับสังคม ประกอบด้วยความหมายความสำคัญของ สื่อมวลชน สื่อมวลชน เบื้องต้น บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน อิทธิพลของสื่อมวลชน ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน จรรยาบรรณของ สื่อมวลชน การควบคุมสื่อมวลชน สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ และการรับใช้สังคมของ

-มีความคิดเห็นอย่างไร
กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคมระบบการสื่อสารเสรีทั้งคุณและโทษ คุณประโยชน์ก็คือเป็นการย่อโลกให้แคบลงมาให้ผู้คนฉลาดเฉลียวหูตากว้างขึ้น ช่วยพัฒนาให้สังคมเจริญอย่างรวดเร็วแต่ในทางตรงกันข้าม การสื่อสารอย่างไร้ขอบเขตจำกัดได้รุกล้ำอธิปไตยทางวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ความเป็นตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ หลายประเทศกว่าจะรู้ตัวก็ถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมไปมากแล้ว ปัญหาการสื่อสารมวลชนในสังคมไทย เป็นปัญหาที่เกิดจาดลักษณะการทำงานโดยเฉพาะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นสื่อที่เกิดขึ้น โดยรัฐ และอยู่ในความคงบคุมของรัฐ ทำให้ขาดอิสระในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ การสร้างสรรค์รายการไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร และขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพ

-มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
การจัดเรตติ้งมีมานานแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ที่เราจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ไม่ได้เลียนแบบต่างประเทศ แต่ในสภาพปัจจุบัน พบว่า เพื่อความอยู่รอดของรายการโทรทัศน์ ผู้ผลิตขึ้นจำเป็นที่จะต้องทำให้รายการน่าสนใจเพื่อให้มีผู้ชมรายการมาก ส่งผลให้รายการมีโฆษณาและผู้สนับสนุนมาก นั่นหมายความว่า รายการนั้นจะสามารถอยู่รอดในผังรายการของสถานีโทรทัศน์ได้ รายการเหล่านั้น จึงเน้นความบันเทิงมากกว่าสาระที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะรายการที่มีเนื้อหารุนแรงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ ภาษา โดยเฉพาะพฤติกรรมและความรุนแรง ประกอบกับ ผลการสำรวจภาคสนามที่ระบุว่า เด็ก เยาวชนใช้เวลาในการดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ ๓ ชั่วโมง และเพิ่มเป็น ๕ ชั่วโมงในวันเสาร์และอาทิตย์ และรายการโทรทัศน์เหล่านี้เองส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ให้กับผู้ชม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กในช่วงอายุ แรกเกิด ถึง ๑๓ ปี ซึ่งยังมีวิจารณญานน้อย ไม่สามารถแยกแยะบทบาทจริงกับบทบาทสมมุติได้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า เด็ก เยาวชนไทยกำลังเผชิญหน้ากับการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสื่อโทรทัศน์มากขึ้นทุกขณะ โอกาสในการสร้างความฉลาดทางปัญญา จึงถูกทำลายไปพร้อมกับการดูโทรทัศน์ ดังนั้นจึงถึงเวลาที่จะต้องมาจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ให้มีความชัดเจน

-SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
มีทั้งประโยชน์และโทษถ้ามองในแง่ดี ก็ต้องบอกว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความคิดเห็น ได้ส่งข่าวสาร ความเป็นอยู่ในแต่ละครั้งผ่านหน้าจอโทรทัศน์ แต่หากเป็นประเด็นที่ล่อแหลมต่อความสัมพันธ์ของประชาชนในประเทศ หรือความมั่นคง ก็เห็นไม่เหมาะสมเพราะเป็นการทำให้ไฟลามทุ่ง ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะข้อความมันถูกส่งขึ้นหน้าสอ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่วนที่มองในแง่ไม่ดีคือ เมื่อไหร่จะให้ส่งฟรี เพราะทำให้ประชาชนเสียเงินค่าส่ง SMS ไม่ใช่น้อย จะบอกว่าไม่ได้บังคับแต่มันก็มีการเชิญชวนแบบที่ยากปฏิเสธได้ ตามสัญชาตญาณมนุษย์ ที่ส่วนใหญ่ก็อยากมีส่วนรวมในการแสดงความคิดเห็นแสดงออกอยู่แล้ว แต่เม็ดเงินที่ทางสถานี รายการ บริษัทมือถือ ได้รับ มันคิดแล้วได้รายได้มหาศาล

-การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษหรือการเรียนการสอนอย่างไร
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดสื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียนการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม ดังนั้นสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะผลิตและนำเสนอความรู้ข่าวสาร ให้มีความน่าสนใจ สามรถทำให้คนตั้งใจรับได้นานที่สุด ความสามรถในการกระตุ้นความสนใจของสื่อสารมวลชนแต่ละประเภทมีระดับที่แตกต่าง

-จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร
ความพยายามที่จะใช้ศักยภาพของสื่อมวลชน ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาให้มากที่สุด ปัจจุบันได้มีการผลิตรายการข่าวสารสำหรับการศึกษาขึ้นมาโดยเฉพาะ ในสื่อมวลชนทุกประเภท เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือการเรียนการสอน หนังสือและหนังสือพิมพ์สำหรับเด็ก วารสาร นิตยสารเพื่อการศึกษา เปิดโอกาสให้นำรายการข่าวสารจากสื่อมวลชน มาใช้ทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีทั้งรายการข่าวสารสำหรับการเรียนการสอน โดยตรและรายการสำหรับการศึกษาทั่วไปสรุปแนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ เช่น การเพิ่มของประชากร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และผู้สอนที่เชี่ยวชาญ การกระจายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเจริญก้าวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนเอง ทำให้สื่อมวลชน มีบทบาทต่อการศึกษาของประชาชนมากขึ้น ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามปกติวิสัย แต่การใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังแม้ว่าผู้คนทั่วไปจะให้การยอมรับว่า สื่อมวลชนมีบทบาททางการศึกษาอย่างกว้างขวาง